ไอเดียการตกแต่งคอนเทรนเนอร์เป็นมินิมาร์ทจากสถาปนิกชาวไทย

Anuwat Anuwat
ตู้คอนเทนเนอร์มินิมาร์ท , ชัยภูมิบ้านตู้คอนเทนเนอร์ ชัยภูมิบ้านตู้คอนเทนเนอร์
Loading admin actions …

โครงสร้างสำเร็จรูปอย่าง ตู้คอนเทรนเนอร์กลายเป็น หนึ่งทางเลือกที่ผู้อยู่อาศัยให้ความสนใจ โดยนอกจากต่อเติมเป็นขนาดจิ๋ว ยังได้รับความนิยมดัดแปลงเป็นออฟฟิศ ร้านกาแฟ รวมทั้งร้านมินิมาร์ท เพราะประโยชน์ของคอนเทรนเนอร์ไม่ได้มีดีแต่รูปทรงที่สวยงาม แต่ยังคล่องตัวในการดัดแปลง ตกแต่งภายใน รวมทั้งราคาไม่สูง

ตู้คอนเทรนเนอร์ในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 4 ประเภท เช่น ตู้ที่ใส่สินค้าทั่วไป ตู้สินค้าที่มีเครื่องปรับอากาศ ตู้ขนาดใหญ่ที่ไม่มีหลังคา และตู้ที่ที่ขนาดกว้าง บนพื้นราบ โดยแต่ละชนิดสามารถนำมาดัดแปลงหรือต่อเติม รวมทั้งตกแต่งเป็นส่วนต่างๆได้อย่างลงตัวสำหรับการอยู่อาศัย ไม่เพียงเท่านั้นในปัจจุบันยังถูกเป็นการค้าอย่างมินิมาร์ท สำหรับปัจจัยที่ทำให้ตู้รูปทรงสี่เหลี่ยมแบบนี้ได้รับความนิยม แน่นอน 1.ราคาถูก เพราะตู้ 1 คูหามีราคาเริ่มต้นจากหลักหมื่น 2.โครงสร้างแข็งแรง พื้นฐานเดิมของตู้คอนเทรนเนอร์มีความทนทานอยู่แล้ว เมื่อนำมาปรับใช้เพื่อการอยู่อาศัยก็ดูแข็งแรงมากเช่นกัน และ 3.มีจุดเด่นเฉพาะในเรื่องของรูปทรง ซึ่งสะท้อนความทันสมัยในสไตล์โมเดิร์นได้อย่างนุ่มลึก

และในวันนี้ Homify ขออาสานำพาทุกท่านเยี่ยมชมกับตัวอย่างการตกแต่งตู้คอนเทรนเนอร์เดิมๆ ให้กลายเป็นร้านมินิมาร์ท โดยเป็นผลงานการออกแบบของนักออกแบบชาวไทย โดยผู้ที่สนใจสามารถติดต่อหรือนำไปปรับใช้ได้อย่างสร้างสรรค์

ตู้คอนเทรนเนอร์มินิมาร์ท

สำหรับตู้คอนเทรนเนอร์หลังนี้ถูกนำมาสร้างสรรค์ใหม่ให้กลายเป็น ร้านมินิมาร์ท ในชื่อ นายน้อยมินิมาร์ท ซึ่งเป็นผลงานการออกแบบและตกแต่งของ ชัยภูมิบ้านตู้คอนเทนเนอร์ หรือ สถาปนิกในจังหวัดชัยภูมิ ภาพรวมของมินิมาร์ทตกแต่งใหม่ด้วยโทนสีเหลือง บริเวณผนังส่วนหน้าและด้านข้างต่อเติมเป็นบานประตูแบบบานเลื่อน มีชานขนาดกะทัดรัดสำหรับวางรองเท้า ด้านข้างอีกฝั่งเป็นประตูแบบเปิด ด้านบนเสริมเป็นหลังคาแบบลาดเอียงเพื่อป้องกันแดดและระบายน้ำฝน ขณะที่ด้านในเพียบพร้อมไปด้วยพื้นที่ใช้สอยอย่างทำเลขายของ โดยจัดเรียงตามความกว้างของตู้คอนเทรนเนอร์ในแนวนอน ส่วนบริบทโดยรอบร่ายล้อมไปด้วยกรวดหิน ยกสูงขึ้นจากพื้นเดิมด้วยแท่นหิน นับเป็นหนึ่งร้านมินิมาร์ทที่สร้างได้อย่างสวยงาม คุ้มประโยชน์ จากโครงสร้างสำเร็จรูปอย่างตู้คอนเทรนเนอร์

โครงสร้างเดิม

ตู้คอนเทรนเนอร์หลังนี้เป็นตู้เก่า ขนาดตอนเดียว รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในมีการเจาะทำประตูและหน้าต่างเป็นที่เรียบร้อยในทุกด้านพร้อมเปิดรับแสงจากภายนอกหรือปรับบ้าน รวมทั้งมินิมาร์ทได้อย่างยืดหยุ่น โครงสร้างภายในยังไม่ได้บุผนัง เป็นเหล็กทั้งหมด เสา คาน เพดาน ยังดูแข็งแรง เช่นเดียวกันกับพื้น บริเวณผนังโดยรอบมีสนิมเกาะ แต่สามารถจัดการได้ด้วยการขูดและทาสีทับเพื่อสร้างโทนสีใหม่  

ภายใน

แต่เดิมภายในมีโทนสีแดงเข้ม ซึ่งอาจเป็นสีของโครงสร้างเดิม โดยผนัง เพดานเป็นเหล็ก ส่วนพื้นปูด้วยไม้อัด ขนาดหรือความกว้างมีจำกัดแต่ดูแล้วโปร่ง โล่ง สบาย ในแง่ของความสูงประมาณ 1.5-2 เมตร ที่สำคัญในตู้คอนเทรนเนอร์ 1 หลัง สามารถเดินเข้าได้ในทุกช่องทาง เรียกได้ว่าเชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อ อีกหนึ่งจุดเด่นของตู้คอนเทรนเนอร์แบบตอนเดียว คือ เคลื่อนย้ายได้ง่าย ดูสะดวกสบาย สามารถนำไปตกแต่งในพื้นที่ต่างๆได้อย่างยืดหยุ่น  

ขัดพื้นเดิม เริ่มเดินสายไฟ

ช่างผู้เชี่ยวชาญได้เริ่มทำการตกแต่งภายในตู้คอนเทรนเนอร์หลังนี้ด้วยการขัดพื้นผิว เริ่มตั้งแต่เพดาน เพื่อให้พื้นที่มีร่องรอยของตู้เกิดความเรียบเนียน และสะดวกสบาย ขณะเดียวกันเมื่อขัดพื้นเสร็จสามารถเดินสายไฟได้ทันทีก่อนการบุผนังหรือติดตั้งฉนวนกันความร้อน เพราะถ้าหากไม่ติดตั้งวัสดุดังกล่าวจะทำให้ภายในตู้คอนเทรนเนอร์ร้อนอย่างมาก เนื่องจากวัสดุที่ทำมาจากเหล็กดูดซับความร้อนได้ไว 

ทาสีรองพื้น

สำหรับส่วนนอกของตู้คอนเทรนเนอร์ ตกแต่งใหม่หลังจากการขัดพื้นผิวด้วยการทาสีรองพื้นด้วยโทนสีเทา ซึ่งประโยชน์ของการทาสีรองพื้น แน่นอนช่วยทำให้สีที่นำมาใช้เกาะติดได้นาน ปกป้องน้ำ กันสนิม สีทามีความสดใส เรียบเนียน ยิ่งไปกว่านั้นการทาสีรองพื้นยังช่วยประหยัดการทาสีทับหน้า สำหรับสีรองพื้นที่นำมาใช้กับโครงเหล็กแบบนี้ ควรเป็น สีรองพื้นกันสนิม

ผนังตู้คอนเทรนเนอร์

ภายในตู้คอนเทรนเนอร์หลังนี้ได้ทำการบุผนังทั้งหมดด้วยแผ่นฉนวนสำเร็จรูป เพราะมีน้ำหนักเบา ง่ายต่อการติดตั้ง อายุการใช้งานนาน สามารถกันความร้อนและเก็บความเย็นได้ดี เมื่อภายในของตู้คอนเทรนเนอร์ไม่มีความร้อน ทำให้การใช้พลังงานไฟฟ้าภายในมินิมาร์ทสามารถประหยัดต้นทุนได้จำนวนมาก อย่างไรก็ดีหลังจากการติดตั้งฉนวนกันความร้อนได้นำเอาแผ่นไม้อัดมาติดตั้งอีกชั้นเพื่อให้ผนังและเพดานของตู้ดูเรียบเนียนและสวยงาม

ปูพื้นด้วยกระเบื้อง

หลังจากบุผนัง ติดตั้งกันฉนวนเป้นที่เรียบร้อย ส่วนของพื้นช่างปูพื้นได้ทำการปูพื้นใหม่ทั้งหมด โดยเริ่มจากการปรับพื้นเดิมให้เรียบเนียนด้วยคอนกรีต เสริมความสวยงามด้วยลูกเล่นจากกระเบื้องเซรามิกโทนสีเทา ซึ่งจุดเด่นของการปูพื้นไม่ได้มีดีแต่ความสวยงาม แต่ยังรองรับน้ำหนักของชั้นวางรวมทั้งเป็นช่องทางการเดินภายในได้อย่างสะดวกสบาย  

ติดตั้งวงกบ พร้อมกับกระจก

หลังจากตกแต่งโครงสร้างภายในอาทิ พื้น ผนัง เพดาน ส่วนหน้าและด้านริมของตู้ที่เจาะทำเป็นประตูและหน้าต่างนั้น ได้ทำการเสริมวงกบและติดตั้งบานกระจกใส ซึ่งกลไกที่นำมาใช้ในการเปิด-ปิดของมินิมาร์ทหลังนี้ คือ บานเลื่อน ซึ่งบานประตูและหน้าต่างนั้นตกแต่งอยู่ร่ายรอบของตู้ ทำให้บรรยากาศภายในดูปลอดโปร่ง สดใส ยิ่งโทนสีภายในมีความเรียบง่ายในเฉดสีครีม ทำให้การเอต่อการใช้ประโยชน์ทั้งในแง่ของการลดการใช้พลังไฟฟ้าและดูสวยงาม สะอาดตา ในแบบสไตล์โมเดิร์น

ตู้คอนเทรนเนอร์มินิมาร์ทโทนสีเหลือง

เมื่อติดตั้งทุกส่วนเสร็จ ตู้คอนเทรนเนอร์หลังนี้พร้อมใช้งาน โดยเฉพาะในเรื่องของการค้าอย่างเช่นการเปิดมินิมาร์ท รูปทรงของตู้คอนเทรนเนอร์หลังนี้เป็นตอนเดียว มีความโปร่ง โล่ง สบาย ภายในมีการติดตั้งระบบไฟและระบบสาธารณปโภคต่างๆ อย่างครบครัน อาทิ ไฟฟ้าด้วยหลอดไฟ พัดลมระบบระบายอากาศ เป็นต้น ด้านการจัดวางวางบนแท่นเหล็กเพื่อลดการเสื่อมโทรมหากวางกับพื้นราบอาประสบกับปัญหาน้ำท่วมได้ ภาพรวมด้านนอกดูสะดุดจาด้วยโทนสีเหลือสด นับเป็นหนึ่งไอเดียสุดสร้างสรรค์ที่เรียกได้ว่าจำตู้คอนเทรนเนอร์เดิมไม่ได้เลย

การนำเอาตู้คอนเทรนเนอร์มาตกแต่งเป็นมินิมาร์ท นอกจากแสดงออกถึงความสร้างสรรค์ ยังสื่อถึงการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างสำเร็จรูปได้อย่างคุ้มประโยชน์

Butuh bantuan dengan projek Anda?
Hubungi kami!

Sorotan dari majalah